วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

Built-in Furniture


       Built-in Furniture  คือ     เฟอร์นิเจอร์ประเภทหนึ่งที่มีการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้มีขนาดพอดีหรือเหมาะสมลงตัวกับบริเวณและพื้นที่ที่จะติดตั้ง อาจจะเป็นการทำเฟอร์นิเจอร์ขึ้นที่หน้างานหรือทำขึ้นมาจากโรงงานแล้วนำมาประกอบที่หน้างานก็ได้ อาทิเช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้โชว์ ตู้ลอย และตู้ที่ใช้ในห้องครัว หรืออาจจะรวมถึงเคาท์เตอร์ต่างๆด้วย เฟอร์นิเจอร์แบบนี้การติดตั้งจะต้องเป็นลักษณะที่ติดตั้งแล้วติดเลย เพราะขนาดจะพอดีกับพื้นที่หากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนย้าย จะต้องรื้อเพียงอย่างเดียว มาดูกันว่าเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อินมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง หลายๆคนที่กำลังมองหาเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งบ้านที่อยู่อาศัย คงเกิดข้อสงสัยกันว่าจะใช้เฟอร์นิเจอร์ชนิดไหนดี แล้วชนิดไหนถึงจะเหมาะสมและเข้ากับที่พักอาศัยหรือบ้านของเรา บางคนก็อาจจะมองหาเฟอร์นิเจอร์ที่มีขายตามร้านขายเฟอร์นิเจอร์ทั่วๆไป มีให้เลือกมากมายจากถูกไปจนถึงแพง แต่รูปแบบอาจไม่ตรงกับความต้องการของเราทั้งหมด ดังนั้นมาดูกันว่าเฟอร์นิเจอร์ชนิดไหนที่เหมาะกับเรา

1. เฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ (Built-in Furniture หรือ FixedFurniture)


คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับการออกแบบ และ ติดตั้งสำหรับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นการเฉพาะยากที่จะเคลื่น
อย้าย และติดตั้งใหม่

ข้อดี
- มีความแข็งแรงสูง เนื่องจากยึดเกาะกับอาคาร หรือ โครงสร้างอาคาร มีรูปแบบเฉพาะตัว หรูหรามี
เอกลักษณ์เข้ากับสัดส่วนพื้นที่ สามารถติดตั้ง และดัดแปลงให้เข้ากับพื้นที่ต่างๆ ได้โดยไม่กำกัด
-ลดปัญหาเรื่องการสะสมของฝุ่น เพราะจะมีการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ให้สูงจนชนฝ้าเพดาน เพื่อ
ประโยชน์การใช้สอยสูงสุด และป้องกันการสะสมตัวของฝุ่นได้อย่างดี

ข้อเสีย
- ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพราะว่าติดตั้งกับที่และไม่สามารถเปลี่ยน รูปร่างและรูปแบบการจัดวางได้ 
ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ หรือต้องการย้ายที่อยู่ เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้ จะต้องถูกรื้อถอนทิ้ง โดย
แทบจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
- ราคาของเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาสูงกว่าเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว รวมถึงจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เนื่องจาก
ต้องใช้แรงงานฝีมือ มาทำการ ติดตั้งที่หน่วยงานของลูกค้าเป็นการเฉพาะ
- การติดตั้งต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญในการทำงานให้ออกมาตามความต้องการทั้งรูปแบบและฝีมือ และ
ในระหว่างที่มีการติดตั้งจะมีปัญหาเรื่องของฝุ่น กลิ่น ที่เกิดจากการติดตั้งรบกวนอีกด้วย

2. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว (MovableFurniture หรือ Loose Furniture)


คือ เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สามารถจัดรูปแบบในการวางได้หลากหลายตามที่ต้องการ 
เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้จะผลิตสำเร็จที่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ แล้วนำมาวางในหน่วยงาน ลูกค้าสามารถเลือกรูป
แบบ และประโยชน์ใช้สอย ได้จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง ในร้านค้าได้ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เช่นโต๊ะ 
เก้าอี้ โซฟา เป็นต้น

ข้อดี
- สามารถเลือกรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยได้ จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง สามารถทดลองการใช้งานได้จริง
- ราคาของเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่
- สามารถเคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ มีอิสระในการตกแต่งได้อย่างเต็มที่ เพราะ
เราสามารถโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดการได้ตามชอบใจโดยไม่ต้องไปวุ่นวายกับช่าง
เฟอร์นิเจอร์ให้เสียอารมณ์ หรือถ้าเราเกิดเบื่อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนขึ้นมา หรือนึกอยากจะจัดห้องใหม่ ก็
สามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งตรงข้ามกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินที่ "ต้องรื้นทิ้งสถานเดียว" 
- ลดปัญหาฝุ่นละออง กลิ่น ในการติดตั้ง เนื่องจากผลิตสำเร็จจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว

ข้อเสีย
- อาจจะมีรูปแบบซ้ำๆ เพราะผลิตครั้งละจำนวนมาก ต่อเติมส่วนประกอบต่างๆ ไม่ได้มาก
- รูปแบบและขนาดจำกัดไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้าพอดีกับพื้นที่ได้ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีความสูงมากๆ 
จะมีปัญหา เรื่องการสะสมตัวของฝุ่นบนหลังตู้ (เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสูงไม่เต็มพื้นที่) และอาจทำ
ให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
- รูปแบบที่มีมักจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากๆ เนื่องจากเป็น ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ขาดความ เป็น
เอกเทศ นอกจากนี้ งานตกแต่ง ภายใน ที่ใช้ แต่เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเพียงอย่างเดียวจะให้ ความรู้สึก
เหมือนห้องเช่า และส่วนใหญ่ มักมีประโยชน์ใช้สอยไม่ครบถ้วน ตามพื้นที่ที่มีอยู่

3. เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบได้(Knock down Furniture)

คือ เฟอร์นิเจอร์ที่รวมเอาข้อดีของเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองระบบแรกเข้าด้วยกัน โดยมี ลักษณะเป็นเหมือน
เฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ ในขณะที่มีการผลิตที่เกือบจะสำเร็จรูปจากโรงงาน เพียงแต่นำมาติดตั้งประกอบ
ด้วยช่างชำนาญงานเพียงไม่กี่คน และใช้เวลาไม่นานนัก ทำให้ลดปัญหาเรื่องฝุ่นไม้ และกลิ่นสีในหน่วย
งานได้เป็นอย่างดี

ข้อดี
- ลดปัญหาเรื่องฝุ่นไม้ และกลิ่นสีในหน่วยงานได้เป็นอย่างดี เพราะการผลิตที่เกือบจะสำเร็จรูปจากโรง
งานแล้ว เพียงแต่นำมาติดตั้งประกอบด้วยช่างผู้ชำนาญงานเพียงไม่กี่คน
- ผลิตโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ ประเภท Particle Board หรือ Chip Board ที่สามารถ
ควบคุมคุณภาพได้ดี

ข้อเสีย
- การออกแบบ และการตั้งเครื่องเพื่อเตรียมการผลิต ที่ยุ่งยาก และซับซ้อน ดังนั้น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์
ชนิดนี จึงต้องทำการผลิตเป็นจำนวนมาก Mass Production เพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการ
ออกแบบ และการเตรียม การผลิตให้ลดลงมามากที่สุด
- มีอายุการใช้งานต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้จริง หรือไม้อัด เนื่องจากรูปแบบการผลิต ของ
เฟอร์นิเจอร์ Knock down ยังมีข้อจำกัด ขั้นตอนการผลิต ค่อนข้างยุ่งยาก และเครื่องจักรใน
การผลิตก็มีราคาสูงมาก

การเตรียมการโดยแบ่งเป็น1. การออกแบบ ซึ่งในส่วนนี้อาจจะได้มาจากนิตยสาร หรือคุณคุยกับนักออกแบบ หรือปรึกษากับช่างผู้มีประสบการณ์ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยของคุณ ซึ่งในส่วนนี้หากมีการออกแบบมาบางแห่งอาจคิดค่าแบบ แต่หากให้ทางผู้รับออกแบบทำด้วยแล้ว ก็อาจไม่ต้องชำระค่าแบบเลยก็ได้
2. เลือกรูปแบบและดีไซด์ โดยที่คุณควรจะทราบว่าความต้องการของคุณเป็นแบบไหน โมเดิร์นหรือคลาสสิก เพื่องานที่ได้จะตรงกับความต้องการของคุณ แต่ทางที่ดีควรจะกลมกลืนกับการตกแต่งของห้องด้วย
3. การเตรียมพื้นที่ งานในส่วนนี้จะเป็นของผู้รับเหมาที่จะเข้ามาปรับระดับพื้น ผนัง และเพดานที่เฟอร์นิเจอร์ต้องเข้าไปจัดวางให้ได้แนวระนาบ เพื่อเตรียมการสำหรับติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน4. และที่สำคัญที่สุด คือการเตรียมงบประมาณ (ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ) เพราะอาจทำให้การเลือกใช้วัสดุบางตัวเหมาะสมกับงบประมาณที่คุณมีด้วย

อ้างอิงโดย


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น