This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ไม้เอ็มดีเอฟ (Medium Density Fiberboard)


ไม้เอ็มดีเอฟ (MDF ย่อจาก Medium Density Fiberboard) 
        ไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่ปานกลาง เป็นไม้วิศวกรรมประเภทหนึ่งสร้างขึ้นมาจากการบดไม้เนื้ออ่อน แล้วนำมาอัดเป็นชิ้นไม้ โดยการประสานกันด้วยสารเคมีภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ไม้เอ็มดีเอฟมีลักษณะคล้าวไม้อัด แต่ลักษณะของโครงสร้างของไม้จะต่างกันโดยส่วนประกอบของไม้เอ็มดีเอฟ ทำมาจากเยื่อไม้ มีความความหนาแน่นมากกว่าปาร์ติเกิลบอร์ดทั่วไป ความหนาแน่นประมาณ 600 - 800 กก./ม
        สารเครมีที่นิยมนำมาประสานเอ็มดีเอฟ คือ ฟอร์มัลดีไฮด์เรซินส์ (Formaldehyde resins) นอกจากนี้ในการตัดชิ้นงานไม้เอ็มดีเอฟ ขณะที่ตัดจะมีปริมาณอนุภาพฝุ่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการทำงานควรจะทำงานในสภาวะที่มีการดูดควันและฝุ่นออก รวมถึงสวมหน้ากากในขณะที่ทำงานกับไม้เอ็มดีเอฟ

ถ้าแบ่งตามลักษณะคุณสมบัติ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ชนิดความหนาแน่นสูง โดยส่วนมากนิยมใช้ทำพื้นอาคาร บ้านเรือน นำไปปิดผิว พ่นสี ให้ดูดีขึ้น
2. ชนิดความหนาแน่นปานกลาง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งงานแกะสลักได้เกือบทุกชนิด
3. ชนิดความหนาแน่นต่ำ ปัจจุบันเริ่มมีใช้แพร่หลายทางยุโรป และอเมริกา นิยมใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์



วัตถุที่ใช้ในการผลิต 
        ยูคาลิปตัส ยางพารา ฯลฯ นำมาผสมกับกาวสังเคราะห์ แล้วจึงอัดเป็นแผ่นโดยกรรมวิธีแห้ง อัดด้วยความร้อน เพื่อให้เกิดความยึดเหนื่ยวระหว่างเส้นใยจนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีกาวเป็นตัวช่วยประสาน


กระบวนการผลิตจาก Panelplus


อ้างอิงโดย
Panelplus
- Prachacheun

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด (Particleboard)


       ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด (Particleboard) หรือบางประเทศมีการเรียกว่า ชิปบอร์ด (Chipboard) เป็นไม้วิศวกรรมประเภทหนึ่ง สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ เช่นชิปไม้ หรือแม้แต่ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมีและนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดจัดเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดบอร์ด แต่ปาร์ติบอร์ดมีส่วนประกอบจากชิ้นไม้ที่ใหญ่กว่าปาร์ติเกิ้ลบอร์ดเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริงและไม้อัด จะมีราคาที่ถูกกว่า ความหนาแน่นมากกว่า และมีเนื้อไม้ที่มีลักษณะเดียวกันทั้งชิ้น ขณะที่ความแข็งแรงของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดจะน้อยกว่า โดย เมื่อนำมาใช้งานนิยมนำวีเนียร์มาติดเป็นผิวหน้าเพื่อแสดงลายไม้ หรือบางครั้งนิยมนำมาทาสีตกแต่ง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนั้น เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในบรรดาไฟเบอร์บอร์ด ซึ่งความแข็งแรงก็น้อยกว่าเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดวูด
ข้อด้อยอีกอย่างของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดคือ ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่าย เนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะไม้ที่ไม่ได้มีการ ทาสี หรือว่าเคลือบซีลเลอร์ อย่างไรก็ตามปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนิยมนำมาใช้ในงานที่ใช้ในตัวอาคาร แทนที่งานภายนอกอาคารที่มีความชื้นสูง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนำมาใช้ตามเคาน์เตอร์


     ประวัติของปาร์ติเกิลบอร์ดนั้น ถูกคิดขึ้นมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงที่ขาดแคลนไม้ โดยมีการใช้ครั้งแรกในโรงงานที่เมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี โดยได้นำเศษไม้ ขี้เลื่อย หรือชิปไม้ จากโรงงานมาทุบรวมกันให้มีขนาดเล็ก และนำมาอัดใส่สารเคมีให้เป็นเนื้อเดียวกัน


     แผ่นไม้ปาร์ติเกิลจะมี 3 ชั้น คือ ชั้นผิวบน ชั้นผิวล่าง มีความละเอียด และชั้นใส้ตรงกลางมีความหยาบกว่า ส่วนใหญ่วัตถุดิบที่นำมาผลิตไม้ปาร์ติเกิล ได้แก่ ไม้ยางพาราที่หมดอายุการใช้งานแล้ว มีขนาดมาตรฐาน 4x8 ฟุต, 6x8 ฟุต ความหนา 9-38 มิลลิเมตร ความหนาหลัก(มิลลิเมตร) 9, 12, 15, 16, 25, 30, 36


กระบวนการผลิตจาก Panelplus

อ้างอิงโดย
- Panelplus
- pwood
- All Wood

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

Built-in Furniture


       Built-in Furniture  คือ     เฟอร์นิเจอร์ประเภทหนึ่งที่มีการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้มีขนาดพอดีหรือเหมาะสมลงตัวกับบริเวณและพื้นที่ที่จะติดตั้ง อาจจะเป็นการทำเฟอร์นิเจอร์ขึ้นที่หน้างานหรือทำขึ้นมาจากโรงงานแล้วนำมาประกอบที่หน้างานก็ได้ อาทิเช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้โชว์ ตู้ลอย และตู้ที่ใช้ในห้องครัว หรืออาจจะรวมถึงเคาท์เตอร์ต่างๆด้วย เฟอร์นิเจอร์แบบนี้การติดตั้งจะต้องเป็นลักษณะที่ติดตั้งแล้วติดเลย เพราะขนาดจะพอดีกับพื้นที่หากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนย้าย จะต้องรื้อเพียงอย่างเดียว มาดูกันว่าเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อินมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง หลายๆคนที่กำลังมองหาเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งบ้านที่อยู่อาศัย คงเกิดข้อสงสัยกันว่าจะใช้เฟอร์นิเจอร์ชนิดไหนดี แล้วชนิดไหนถึงจะเหมาะสมและเข้ากับที่พักอาศัยหรือบ้านของเรา บางคนก็อาจจะมองหาเฟอร์นิเจอร์ที่มีขายตามร้านขายเฟอร์นิเจอร์ทั่วๆไป มีให้เลือกมากมายจากถูกไปจนถึงแพง แต่รูปแบบอาจไม่ตรงกับความต้องการของเราทั้งหมด ดังนั้นมาดูกันว่าเฟอร์นิเจอร์ชนิดไหนที่เหมาะกับเรา

1. เฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ (Built-in Furniture หรือ FixedFurniture)


คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับการออกแบบ และ ติดตั้งสำหรับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นการเฉพาะยากที่จะเคลื่น
อย้าย และติดตั้งใหม่

ข้อดี
- มีความแข็งแรงสูง เนื่องจากยึดเกาะกับอาคาร หรือ โครงสร้างอาคาร มีรูปแบบเฉพาะตัว หรูหรามี
เอกลักษณ์เข้ากับสัดส่วนพื้นที่ สามารถติดตั้ง และดัดแปลงให้เข้ากับพื้นที่ต่างๆ ได้โดยไม่กำกัด
-ลดปัญหาเรื่องการสะสมของฝุ่น เพราะจะมีการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ให้สูงจนชนฝ้าเพดาน เพื่อ
ประโยชน์การใช้สอยสูงสุด และป้องกันการสะสมตัวของฝุ่นได้อย่างดี

ข้อเสีย
- ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพราะว่าติดตั้งกับที่และไม่สามารถเปลี่ยน รูปร่างและรูปแบบการจัดวางได้ 
ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ หรือต้องการย้ายที่อยู่ เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้ จะต้องถูกรื้อถอนทิ้ง โดย
แทบจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
- ราคาของเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาสูงกว่าเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว รวมถึงจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เนื่องจาก
ต้องใช้แรงงานฝีมือ มาทำการ ติดตั้งที่หน่วยงานของลูกค้าเป็นการเฉพาะ
- การติดตั้งต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญในการทำงานให้ออกมาตามความต้องการทั้งรูปแบบและฝีมือ และ
ในระหว่างที่มีการติดตั้งจะมีปัญหาเรื่องของฝุ่น กลิ่น ที่เกิดจากการติดตั้งรบกวนอีกด้วย

2. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว (MovableFurniture หรือ Loose Furniture)


คือ เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สามารถจัดรูปแบบในการวางได้หลากหลายตามที่ต้องการ 
เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้จะผลิตสำเร็จที่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ แล้วนำมาวางในหน่วยงาน ลูกค้าสามารถเลือกรูป
แบบ และประโยชน์ใช้สอย ได้จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง ในร้านค้าได้ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เช่นโต๊ะ 
เก้าอี้ โซฟา เป็นต้น

ข้อดี
- สามารถเลือกรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยได้ จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง สามารถทดลองการใช้งานได้จริง
- ราคาของเฟอร์นิเจอร์จะมีราคาถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่
- สามารถเคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ มีอิสระในการตกแต่งได้อย่างเต็มที่ เพราะ
เราสามารถโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดการได้ตามชอบใจโดยไม่ต้องไปวุ่นวายกับช่าง
เฟอร์นิเจอร์ให้เสียอารมณ์ หรือถ้าเราเกิดเบื่อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนขึ้นมา หรือนึกอยากจะจัดห้องใหม่ ก็
สามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งตรงข้ามกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อินที่ "ต้องรื้นทิ้งสถานเดียว" 
- ลดปัญหาฝุ่นละออง กลิ่น ในการติดตั้ง เนื่องจากผลิตสำเร็จจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว

ข้อเสีย
- อาจจะมีรูปแบบซ้ำๆ เพราะผลิตครั้งละจำนวนมาก ต่อเติมส่วนประกอบต่างๆ ไม่ได้มาก
- รูปแบบและขนาดจำกัดไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้าพอดีกับพื้นที่ได้ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีความสูงมากๆ 
จะมีปัญหา เรื่องการสะสมตัวของฝุ่นบนหลังตู้ (เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสูงไม่เต็มพื้นที่) และอาจทำ
ให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
- รูปแบบที่มีมักจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากๆ เนื่องจากเป็น ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ขาดความ เป็น
เอกเทศ นอกจากนี้ งานตกแต่ง ภายใน ที่ใช้ แต่เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเพียงอย่างเดียวจะให้ ความรู้สึก
เหมือนห้องเช่า และส่วนใหญ่ มักมีประโยชน์ใช้สอยไม่ครบถ้วน ตามพื้นที่ที่มีอยู่

3. เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบได้(Knock down Furniture)

คือ เฟอร์นิเจอร์ที่รวมเอาข้อดีของเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองระบบแรกเข้าด้วยกัน โดยมี ลักษณะเป็นเหมือน
เฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ ในขณะที่มีการผลิตที่เกือบจะสำเร็จรูปจากโรงงาน เพียงแต่นำมาติดตั้งประกอบ
ด้วยช่างชำนาญงานเพียงไม่กี่คน และใช้เวลาไม่นานนัก ทำให้ลดปัญหาเรื่องฝุ่นไม้ และกลิ่นสีในหน่วย
งานได้เป็นอย่างดี

ข้อดี
- ลดปัญหาเรื่องฝุ่นไม้ และกลิ่นสีในหน่วยงานได้เป็นอย่างดี เพราะการผลิตที่เกือบจะสำเร็จรูปจากโรง
งานแล้ว เพียงแต่นำมาติดตั้งประกอบด้วยช่างผู้ชำนาญงานเพียงไม่กี่คน
- ผลิตโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ ประเภท Particle Board หรือ Chip Board ที่สามารถ
ควบคุมคุณภาพได้ดี

ข้อเสีย
- การออกแบบ และการตั้งเครื่องเพื่อเตรียมการผลิต ที่ยุ่งยาก และซับซ้อน ดังนั้น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์
ชนิดนี จึงต้องทำการผลิตเป็นจำนวนมาก Mass Production เพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการ
ออกแบบ และการเตรียม การผลิตให้ลดลงมามากที่สุด
- มีอายุการใช้งานต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้จริง หรือไม้อัด เนื่องจากรูปแบบการผลิต ของ
เฟอร์นิเจอร์ Knock down ยังมีข้อจำกัด ขั้นตอนการผลิต ค่อนข้างยุ่งยาก และเครื่องจักรใน
การผลิตก็มีราคาสูงมาก

การเตรียมการโดยแบ่งเป็น1. การออกแบบ ซึ่งในส่วนนี้อาจจะได้มาจากนิตยสาร หรือคุณคุยกับนักออกแบบ หรือปรึกษากับช่างผู้มีประสบการณ์ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยของคุณ ซึ่งในส่วนนี้หากมีการออกแบบมาบางแห่งอาจคิดค่าแบบ แต่หากให้ทางผู้รับออกแบบทำด้วยแล้ว ก็อาจไม่ต้องชำระค่าแบบเลยก็ได้
2. เลือกรูปแบบและดีไซด์ โดยที่คุณควรจะทราบว่าความต้องการของคุณเป็นแบบไหน โมเดิร์นหรือคลาสสิก เพื่องานที่ได้จะตรงกับความต้องการของคุณ แต่ทางที่ดีควรจะกลมกลืนกับการตกแต่งของห้องด้วย
3. การเตรียมพื้นที่ งานในส่วนนี้จะเป็นของผู้รับเหมาที่จะเข้ามาปรับระดับพื้น ผนัง และเพดานที่เฟอร์นิเจอร์ต้องเข้าไปจัดวางให้ได้แนวระนาบ เพื่อเตรียมการสำหรับติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน4. และที่สำคัญที่สุด คือการเตรียมงบประมาณ (ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ) เพราะอาจทำให้การเลือกใช้วัสดุบางตัวเหมาะสมกับงบประมาณที่คุณมีด้วย

อ้างอิงโดย